บทที่2
กระบวนการพัฒนาเว็บไซท์
การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซท์ที่ดี ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บดังนั้น การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ
Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)
1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2. เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการการ
3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง
Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)
4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site Structure)
6. จัดระบบข้อมูล
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน
Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Design)
9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย
Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)
11. ลงมือพัฒนาเว็บ
12. เปิดเว็บไซท์
13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง
- สีเหลือง
การผสมสี (Color Mixing)
บทที่ 8
การเลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
สีสันในเว็บเพจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็นจากเว็บก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกโดยของของเว็บไซต์ เราสามารถใช้สีได้กับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ ตั้งแต่ รูปภาพ ตัวอักษร สีพื้นหลัง การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านได้
การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
- สีช่วยเชื่อมโยงบริกเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
- สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากัน
- สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
- สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
- ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่างๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
- สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
- สีแดง
- สีน้ำเงิน
แม่สีขั้นที่ 2
แม่สีขั้นที่ 3
แม่สีขั้นที่ 4
การผสมสี (Color Mixing)
มี 2 แบบ
การผสมแบบบวก (Additive mixing)
จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ จะนำไปใช้ในสื่อใดๆที่ใช้แสงส่องออกมา เช่น จอโปรเจคเตอร์ ทีวี หรือ จอมิเตอร์
การผสมแบบลบ (Subtractive mixing)
การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่เกียวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุ จะนำไปใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาดของศิลปิน รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ
วงล้อสี (Color Wheel)
เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดเรียงสีทั้งหมดไว้ในวงกลม และเป็นการจัดลำดับเฉดสีอย่างมีเหตุผลและง่ายต่อการนำไปใช้
- วงล้อสีแบบลบ
- วงล้อสีแบบบวก
บทที่ 9
ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์
รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ(GIF,JPG และ PNG)
►GIF ย่อมาจาก Graphics Interchange Format
-ได้รับความนิยมในยุคแรก
-มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากที่สุด 256 สี
-มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล เหมาสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น
►JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Experts Group
-มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต(True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7ล้านสี
-ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย(lossy)
-ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด
►PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphic
-สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต 24บิต
-มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย(lossless)
-มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า(Gamma) และ ความโปร่งใส(Transparency)ในตัวเอง